เป้าหมาย (Understanding Goal)

เป้าหมายหลัก (Understanding Goal):สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคของตนเองให้เหมาะสมและออกกำลังกายอย่างถูกวิธีเพื่อสุขภาพที่แข็งแรงสมวัย

Week3


เป้าหมายรายสัปดาห์ : เข้าใจการดำรงเผ่าพันธุ์ของมนุษย์ พืช สัตว์ และสามารถอธิบายความสัมพันธ์ของระบบต่างๆที่ทำงานร่วมกันได้
Week
Input
Process
Output
Outcome
3
โจทย์ : การกำเนิด
Key Questions :
- นักเรียนเกิดขึ้นมาได้อย่างไร?
- ทำไมต้องมีการเกิด / สิ่งอื่นดำรงเผ่าพันธุ์หรือขยายพันธุ์อย่างไร?
- มนุษย์ พืช และสัตว์ แตกต่างกันอย่างไร เพราะเหตุใด?

เครื่องมือคิด 
- Flowchart สรุปการกำเนิดมนุษย์
- Blackboard Share แลกเปลี่ยนปัจจัยในการเจริญเติบโต
- Show and Share โครงสร้าง 4 ระบบของมนุษย์ พืช และสัตว์
- Wall Thinking ชิ้นงานที่เกิดขึ้นผ่านในสัปดาห์
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้ 
- ครู
- นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศในชั้นเรียน
-  หนังสือ/ห้องสมุด
- Internet

วันจันทร์
ชง

ครูเปิดคลิป
VDO การกำเนิดมนุษย์: นักเรียนเกิดขึ้นมาได้อย่างไร
เชื่อม
นักเรียนแลกเปลี่ยนสิ่งที่เห็นจากการดูคลิปร่วมกัน
ใช้
นักเรียนสรุปความเข้าใจเกี่ยวกับการกำเนิดของตนเองในรูปแบบของ
Flowchart เป็นรายบุคคล
วันอังคาร
ชง
ครูกระตุ้นด้วยคำถาม : ทำไมต้องมีการเกิด / สิ่งอื่นดำรงเผ่าพันธุ์หรือขยายพันธุ์อย่างไร/มนุษย์ พืช และสัตว์ แตกต่างกันอย่างไร เพราะเหตุใด
เชื่อม
ครูและนักเรียนแลกเปลี่ยนการดำรงเผ่าพันธุ์ของพืชและสัตว์ร่วมกัน
ใช้
นักเรียนสรุปการดำรงเผ่าพันธุ์ของพืชและสัตว์ลงในตาราง
วันพุธ
ชง
ครูกระตุ้นด้วยคำถาม:สิ่งต่างๆรวมทั้งตัวเราเติบโตขึ้นได้อย่างไร?
เชื่อม
ครูและนักเรียนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน
สิ่งที่ทำให้สิ่งต่างๆเติบโต (มนุษย์ พืช และสัตว์)
ชง
ครูกระตุ้นด้วยคำถามต่อ
: ปัจจัยที่ส่งผลให้เราเติบโตมีอะไรบ้าง แล้วสิ่งเหล่านั้นเข้าสู่ร่างกายของเราได้อย่างไร
เชื่อม
- ครูและนักเรียนแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโต
(ระบบหายใจ,ระบบย่อย,ระบบขับถ่ายและระบบต่อมต่างๆ)
- นักเรียนหาข้อมูลเพิ่มเติมเป็นกลุ่มตามระบบทั้ง
4 กลุ่มละ 5-6 คน
ใช้
นักเรียนสรุปองค์ความรู้จากการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับระบบหายใจ,ระบบย่อย,ระบบขับถ่ายและระบบต่อมต่างๆ ของมนุษย์ พืช และสัตว์
วันพฤหัสบดี
ชง

ครูพานักเรียนทำการทดลองการคายน้ำของพืชโดยใช้ถุงพลาสติกครอบกิ่งของพืชที่มีใบ และไม่มีใบ จากนั้นมัดด้วยเชือกแล้วปล่อยทิ้งไว้
30 นาที เพื่อสังเกตการคายน้ำของพืช :กิ่งที่มีใบกับกิ่งที่ไม่มีใบมีการคายน้ำเป็นอย่างไร/เพราะเหตุใด
เชื่อม

นักเรียนนำตัวอย่างของกิ่งพืชที่ทำการทดลองมาสังเกตและแลกเปลี่ยนร่วมกันเกี่ยวกับการทดลองการคายน้ำของพืช
ใช้
นักเรียนสรุปการคายน้ำของพืช เป็นกลุ่มตามการทดลอง
วันศุกร์
ชง
ครูและนักเรียนทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ผ่านมาในสัปดาห์นี้ร่วมกัน : นักเรียนได้เรียนรู้อะไรมาบ้างในสัปดาห์นี้
เชื่อม
ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนสิ่งที่รู้แล้วเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ผ่านมาตลอดทั้งสัปดาห์
ใช้

เขียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 3
ภาระงาน
- การดูคลิป VDO การกำเนิดมนุษย์
- การวิเคราะห์ปัจจัยในการเจริญเติบโตของคน,พืช,และสัตว์
- การศึกษาและวิเคราะห์ระบบหายใจ,ระบบย่อย,ระบบขับถ่ายและระบบต่อมต่างๆ
- ทำการทดลองการคายน้ำของพืช
ชิ้นงาน
- Flowchart การกำเนิดของมนุษย์
- สรุปโครงสร้างทั้ง 4 ระบบ ของมนุษย์ พืชและสัตว์
- สรุปผลการทดลองการคายน้ำของพืช
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่3

ความรู้
เข้าใจการดำรงเผ่าพันธุ์ของมนุษย์ พืช สัตว์ และสามารถอธิบายความสัมพันธ์ของระบบต่างๆที่ทำงานร่วมกันได้
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
- สามารถสร้างทางเลือกในการทำงานและเลือกสิ่งที่เหมาะสมในการเรียนรู้และการทำงานได้
- กล้ารับผิด รับชอบต่อการเรียนรู้และงานที่ทำ
ทักษะการสื่อสาร

- เข้าใจและสามารถสรุปความรู้ คุณค่า ทัศนคติ จากสิ่งที่ได้ฟัง สิ่งที่ได้เรียนรู้และนำไปใช้ได้
- สามารถนำเสนอสิ่งที่เรียนรู้ให้ผู้อื่นเข้าใจผ่าน กิจกรรมที่หลากหลายในรูปแบบต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ทักษะการจัดการข้อมูล

- มีการจัดลำดับความสำคัญสาเหตุของปัญหาได้อย่างสมเหตุสมผลเพื่อใช้ในการสรุป ประมวลและเลือกเรื่องที่อยากเรียนรู้
- มีการจัดกลุ่มความรู้ ข้อมูล ข่าวสาร   ที่ได้จากการสืบค้น จำแนกเป็นประเด็นความรู้เดิม กับประเด็นที่เป็นความรู้ใหม่ หรือนำเสนอประเด็นที่เป็นสาระสำคัญได้อย่างสอดคล้องน่าเชื่อถือ
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
- มีทักษะในการติดต่อสื่อสารและสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพ
- มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเองในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม และเรียนรู้ร่วมกับกลุ่มอื่นได้
- เปิดใจกว้างยอมรับความคิดเห็น แนวคิดหรือโลกทัศน์ใหม่ๆ ของผู้อื่น มีการระดมความคิด ในการทำงาน การเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น
คุณลักษณะ
- รู้จักตนเอง

- เห็นความสัมพันธ์ของตนเองกับผู้อื่น
- เคารพ ยอมรับความแตกต่างหลากหลาย
















PBL คู่ขนาน
ในสัปดาห์นี้เป็นการออกแบบและวางแผนร่วมกันว่านักเรียนอยากเรียนรู้อะไรเพิ่มเติมเพื่อทำอย่างต่อเนื่องตลอดปีการศึกษา ซึ่งนักเรียนได้คิดโครงการเป็นกลุ่มตามความสนใจที่คล้ายๆกัน มีสองโครงการแต่แบ่งทำงานเป็น 3 กลุ่มคือกลุ่มของกุ้งฝอย(ชาย) กุ้งฝอย(หญิง) และเลี้ยงปลาดุก สิ่งที่นักเรียนจะต้องวางแผนร่วมกันคือเป้าหมายในการทำ ขั้นตอนการดำเนินการ ผู้รับผิดชอบโครงการร่วมถึงการแบ่งเวรรับผิดชอบหน้าที่ต่างๆ และในสัปดาห์นี้นักเรียนเริ่มการดำเนินการล้างบ่อให้สะอาดเพื่อเตรียมที่อยู่ให้กับกุ้งและปลาดุกในสัปดาห์หน้าต่อไป





















1 ความคิดเห็น:

  1. ในสัปดาห์นี้นักเรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับการกำเนิดของตนเอง ผ่านการดูวีดีโอ "การกำเนิด" ซึ่งนักเรียนให้ความสนใจกับสิ่งที่ดู และสามารถตอบคำถามได้ดี จากนั้นครูให้นักเรียนจับคู่เพื่ออ่านข้อมูลเกี่ยวกับการปฏิสนธิและการเจริญเติบของทารกในครรถ์มารดาทั้ง 40 สัปดาห์ ผ่านเครื่องมือคิดจิกซอ จากนั้นนักเรียนได้นำความรู้ที่ได้อ่านมาแลกเปลี่ยนร่วมกัน พร้อมทำเป็นชิ้นงานในแต่ละช่วงเวลาของการเจริญเติบโต 4 8 12 16 20 24 28 32 36 40 สัปดาห์ แล้วนำความรู้ความเข้าใจที่เรียนรู้ตลอดทั้งสัปดาห์มาสรุปเป็นชิ้นงานในรูปแบบของการ์ตูนช่อง ร่วมทั้งทำบันทึกลงในสมุด I YOU WE ในสัปดาห์นี้นักเรียนตอบคำถาม เราได้เรียนรู้อะไรมาบ้าง กับสิ่งที่อยากเรียนรู้เพิ่มเติม/เพราะเหตุใด

    ตอบลบ